เทคนิคการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) สำหรับนักศึกษา
การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนแรกสำหรับเริ่มทำงานวิจัย หลังจากนักศึกษาได้ประเด็นปัญหางานวิจัยที่สนใจแล้ว ต้องเข้ากระบวนการสืบค้น วิเคราะห์ สรุปวรรณกรรมหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
แอดมินรวบรวมเป็นลิ้งค์เอาไว้ให้แล้วเลือกอ่านตามหัวข้อได้เลยครับ การทบทวนวรรณกรรม คืออะไร ทำไมเราต้องการทบทวนวรรณกรรม ขั้นตอนและหลักการคัดเลือกวรรณกรรมที่เหมาะสม แหล่งสืบค้นวรรณกรรมที่นิยมแพร่หลาย หลักการเรียบเรียงวรรณกรรมที่ดี ตัวอย่างการทบทวนวรรณกรรม บทสรุปการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) คืออะไร
การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) เป็นกระบวนการสืบค้น ศึกษาทบทวน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาการวิจัยทั้งในอดีตและปัจจุบัน จากผลงานวิจัย บทความ เอกสารทางวิชาการ และหนังสือ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในปัญหาที่จะทำวิจัย นำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยอย่างมีเป้าหมายชัดเจน
ทำไมเราต้องการทบทวนวรรณกรรม
ให้นักศึกษาเรียนรู้องค์ความรู้เดิมในอดีตจนถึงปัจจุบันมีผลงานวิจัยเรื่องใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหางานวิจัยที่เรากำลังศึกษาอยู่ ทำให้ผู้วิจัยมั่นใจได้ว่างานวิจัยที่กำลังศึกษาไม่ซ้ำกับผลงานวิจัยของผู้อื่น และเมื่อได้อ่านผลงานวิจัยแล้วพบว่า
โดยข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการนำไปกำหนดขอบเขตการวิจัย ออกแบบกรอบแนวคิดการวิจัย ช่วยกำหนดสมมติฐาน ตัวแปร วิธีวิจัย แสดงให้ผู้อ่านงานวิจัยได้รับทราบด้วยว่าผลงานวิจัยที่ผ่านมามีใครทำอะไรไว้บ้าง และการใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ที่สอดคล้องและที่ขัดแย้งกันอย่างไร
ขั้นตอนและหลักการคัดเลือกวรรณกรรมที่เหมาะสม
รูปภาพแสดงขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากรูปภาพสามารถอธิบายเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
- ต้องกำหนดเรื่องและขอบเขตเรื่องที่เราจะทำการทบทวนก่อน โดยทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหา ทำโครงเรื่อง กำหนดคำสำคัญ หรือคำค้น (Keywords)
- กำหนดแหล่งสารสนเทศที่จะสืบค้น เช่น หนังสือ ตำรา บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ รายงานประจำปี ผลการประชุมวิชาการ สืบค้นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ห้องสมุด แหล่งข้อมูลต้องมีความน่าเชื่อถือ
- สืบค้นวรรณกรรมและงานวิจัย รวบรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยพิจารณาจากชื่อเรื่อง บทคัดย่อ ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องของข้อมูล และอายุ
- ให้พิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลและแหล่งข้อมูล (สังเคราะห์ข้อมูล) จดบันทึกเนื้อหาสาระที่ได้ เช่น ปัญหาและเหตุผลที่ทำงานวิจัย วัตถุประสงค์ ทฤษฎี กรอบแนวคิด ตัวแปร เครื่องมืองานวิจัย วิธีดำเนินการ ผลการวิจัย ข้อเสนอแนะมาผสมผสานจัดระบบให้เป็นสิ่งใหม่ โครงสร้างใหม่ที่สัมพันธ์กัน
- งานวิจัยที่นำมาอ้างอิงหรือทบทวนไม่เกิน 5 ปี
- ตำราหรือหนังสือที่นำมาอ้างอิงหรือทบทวนไม่เกิน 10 ปี
- ทฤษฎีที่นำมาอ้างอิงหรือทบทวนไม่มีหมดอายุ หากแต่ต้องเลือกที่ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทที่ศึกษา
- ทำการบันทึกข้อมูลในการทบทวนวรรณกรรม/เขียนเรียบเรียง ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สมเหตุสมผล ไม่ลำเอียง
แหล่งสืบค้นวรรณกรรมที่นิยมแพร่หลาย
- เอกสารสิ่งพิมพ์
- หนังสือ ตำราวิชาการทั่วไป
- วารสารวิจัยและวารสารวิชาการ
- รายงานผลการวิจัย วิทยานิพนธ์
- รายงานการประชุมสัมมนาวิชาการ
- วารสารปริทัศน์
- โสตทัศนวัสดุ
- ทัศนวัสดุ เช่น รูปภาพ แผนภูมิแผนที่
- โสตวัสดุ เช่น แผ่นเสียง แถบบันทึกเสียง
- โสตทัศนวัสดุ เช่น ภาพยนตร์ วิดีทัศน์
- ฐานข้อมูลกลาง
- เป็นแหล่งวรรณกรรมขนาดใหญ่ที่รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่สะดวกในการใช้ โดยวิธีการสืบค้นผ่านระบบเครือข่าย
- อินเทอร์เน็ต
- สืบค้นผ่านเสิร์ชเอนจินที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ที่นิยมกันแพร่หลายและให้บริการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น รายงานการวิจัย บทความวิชาการ เอกสารในการประชุมวิชาการ
- ฐานข้อมูลของหน่วยงาน
- ห้องสมุด หน่วยงานส่วนราชการ
หลักการเรียบเรียงวรรณกรรมที่ดี
- วรรณกรรมที่นำมาทบทวนหรืออ้างถึงนั้นต้องสัมพันธ์กับงานวิจัยที่กำลังดำเนินการศึกษาอยู่ ไม่ควรเขียนถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้อ่านมา
- แต่ละงานวิจัยที่นำมาทบทวน นำมาจัดหมวดหมู่แบ่งตาม วัตถุประสงค์ของการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษา อาจเขียนเป็นย่อหน้าหรือสรุปให้อยู่ในรูปแบบตาราง โดยอภิปรายทีละเรื่องในแต่ละย่อหน้า
- ถ้ามีงานวิจัยหลายเรื่องที่ศึกษาปัญหาเดียวกัน ในแง่มุมที่คล้ายคลึงกัน ให้นำมาทบทวนรวมกันในย่อหน้าเดียวกัน โดยสรุปออกมาเป็นกลุ่มเดียวกันมากกว่าแยกจากกัน ตัวอย่าง นายจันทร์, นายอังคาร, นางสาวพุธ ได้ศึกษาเรื่อง .....
- ควรเขียนทบทวนวรรณกรรมที่ได้มีการรวบรวมและวิเคราะห์มาอย่างดี เลือกเฉพาะจุดเด่นที่เกี่ยวข้อง กับการศึกษาที่กำลังดำเนินอยู่
- เรียบเรียงสาระสำคัญเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่ผลงานวิจัยที่ผ่านมาก่อนจนถึงปัจจุบัน ยังขาดอะไรอยู่ มีจุดอ่อนอะไรบ้าง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- ให้เขียนในลักษณะที่นำมาใช้ได้ในอนาคต ซึ่งใช้ในการอภิปรายผลการวิจัย
ตัวอย่างการทบทวนวรรณกรรม
รูปภาพตัวอย่างการทบทวนวรรณกรรมที่ดี
รูปภาพตัวอย่างการทบทวนวรรณกรรมที่ไม่ดี
ชื่อผู้แต่ง/พ.ศ. | วิธีการดำเนินการวิจัย | กลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่ม | เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัย | ตัวแปรที่ทำการศึกษา | ผลการศึกษาที่ได้ |
---|---|---|---|---|---|
อัจฉรา เกตุรัตนกุล และคณะ (2563) | Quasi experimental | ผู้ติดสารเสพติด | Motivation enchancement (MI) | คะแนนพฤติกรรมการใช้สารเสพติด จำนวนวันที่หยุดใช้สารเสพติด | พฤติกรรมการใช้สารเสพติดก่อนและหลังบำบัดระหว่างกลุ่มไม่แตกต่างกัน |
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (2564) | Quasi experimental | เยาวชนติดเกมส์ | ค่ายกิจกรรม | คะแนนการติดเกมส์และคะแนนภูมิคุ้มกันการติดเกมส์ | คะแนนการติดเกมส์หลังร่วมกิจกรรมลดลงและมีคะแนนภูมิคุ้มกันการติดเกมส์เพิ่มขึ้น |
ตัวอย่างการทบทวนวรรณกรรมแบบตารางเมทริก
บทสรุปการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การทบทวนวรรณกรรมเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการดำเนินงานวิจัย เพื่อกำหนดแนวทางและขอบเขตของการวิจัยว่าจะมุ่งไปสู่การค้นหาคำตอบอะไรเพิ่มเติมจากงานที่ผ่านมา แนวทางที่ช่วยให้การทบทวนวรรณกรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คือ การนำเอาแนวคิดมาใช้ในการวิจัย และการใช้ตารางสังเคราะห์เพื่อการทบทวนวรรณกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้วรรณกรรมที่ครอบคลุม ตรงประเด็นและทันสมัยมากที่สุด โดยต้องทำการประเมินแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้สำหรับนำไปสู่การทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ต่อไป
ถ้าชอบคอนเทนต์แบบนี้สามารถติดตามข่าวสารและบทความที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของ makewebproject เพื่ออัปเดทความเคลื่อนไหวของการเขียนโปรแกรมภาษา HTML หากท่านมีข้อเสนอแนะ หรือติดปัญหาส่วนไหนสามารถสอบถามผ่าน Facebook หรือ Line ได้เลยครับ
อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ บทความและเทคนิคการทำวิจัย
การทบทวนวรรณกรรม รีวิวงานวิจัย สืบค้นงานวิจัย สรุปงานวิจัย แหล่งรวบรวมงานวิจัย การคัดเลือกงานวิจัย ตัวอย่างการทบทวนวรรณกรรม Literature Review
กลับหน้าเทคนิคการทำโปรเจค