เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00 - 22.00 น.

เทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัย (Proposal) แจกเทมเพลตฟรี!

เทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัย (Proposal) แจกเทมเพลตฟรี!

 

        การเขียนแบบเสนอหัวข้อหรือโครงร่างงานวิจัย (Proposal) เป็นเอกสารที่นำเสนอรายละเอียดของงานวิจัย เพราะชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาการวิจัย แผนการดำเนินงานเป็นขั้นตอนกระบวนการ งบประมาณภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด ความเป็นไปได้ในการทำวิจัยสำเร็จ เป็นขั้นตอนแรกที่ผู้ทำวิจัยต้องศึกษาและดำเนินการ มีรายละเอียดอย่างไรไปดูกันเลย

แอดมินทำลิ้งค์เอาไว้ให้แล้วเลือกอ่านตามหัวข้อได้เลยครับ
แบบเสนอหัวข้อหรือโครงร่างงานวิจัยคืออะไร
องค์ประกอบแบบเสนอหัวข้อหรือโครงร่างงานวิจัย
หลักการเขียนแบบเสนอหัวข้อหรือโครงร่างงานวิจัย
เทคนิคการเขียนแบบเสนอหัวข้อหรือโครงร่างงานวิจัย
สรุปการเขียนแบบเสนอหัวข้อหรือโครงร่างงานวิจัย

แบบเสนอหัวข้องานวิจัย คืออะไร?

        แบบเสนอหัวข้องานวิจัย (Research proposal) คือเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่ออธิบายและตั้งคำถามวิจัยเสนอให้คณะกรรมการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณาหรือการอนุมัติให้ดำเนินการด้านวิจัย โดยวัตถุประสงค์หลักของแบบเสนอหัวข้องานวิจัยแสดงให้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของงานวิจัยนั้น ๆ เรื่องที่จะนำมาศึกษาดังกล่าวต้องน่าสนใจในทางวิชาการหรือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังช่วยกำหนดขอบเขตและแนวทางการดำเนินงานวิจัยให้ชัดเจน และมีความเป็นไปได้ แบบเสนอหัวข้องานวิจัยเปรียบเสมือนพิมพ์เขียว ซึ่งหากเขียนได้ดีและชัดเจนแล้วมีโอกาศที่งานวิจัยนั้นจะประสบความสำเร็จถึง 70% โดยมีเนื้อหาครอบคลุมรูปเล่มงานวิจัยบทที่ 1 ถึงบทที่ 3 เลยทีเดียว

องค์ประกอบแบบเสนอหัวข้อหรือโครงร่างงานวิจัย

รูปภาพแสดงองค์ประกอบของแบบเสนอหัวข้อหรือโครงร่างงานวิจัย

        จากรูปภาพสามารถอธิบายองค์ประกอบของแบบเสนอหัวข้อหรือโครงร่างงานวิจัยซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้

  1. ส่วนนำ เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับชื่อหัวข้องานวิจัยผละผู้วิจัย ประกอบด้วยชื่อโครงการวิจัย ประเภทงานวิจัย สาขาวิชาหรือกลุ่มวิชาที่ทำการวิจัย ประวัติของผู้วิจัย
  2. ส่วนเนื้อเรื่อง เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของงานวิจัย ประกอบด้วยความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์การวิจัย แนวคิดทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สมมุติฐานของการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ วิธีดำเนินการวิจัย
  3. ส่วนท้ายเรื่อง เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการปฏิบัติงานตามวิธีดำเนินการวิจัย และรายละเอียดอื่นๆ ประกอบด้วย แผนการดำเนินการและระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย สถานที่วิจัย วัสดุอุปกรณ์แบะงบประมาณที่ใช้ในการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และเอกสารอ้างอิง

หลักการเขียนแบบเสนอหัวข้อหรือโครงร่างงานวิจัย

        การเขียนแบบเสนอหัวข้อหรือโครงร่างงานวิจัยไม่ใช่เพียงแค่เขียนให้ครบตามหัวข้อในแบบฟอร์มที่กำหนดเท่านั้น ควรมีการเรียบเรียงเนื้อหาให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน และเขียนให้ดีมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการเขียนดังนี้

  • ความถูกต้อง คือ ความถูกต้องในข้อเท็จจริงและความถูกต้องตามหลักวิชาการ การใช้แนวคิดทฤษฎี นิยามศัพท์ต้องมีการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ วิธีการดำเนินการวิจัยถูกต้องตามหลักวิชาการ การวิเคราะห์ผลการวิจัยมีความถูกต้องแม่นยำ สามารถตอบโจทย์ของวัตถุประสงค์ได้
  • ความชัดเจน คือ ต้องเขียนให้ชัดเจน ผู้วิจัยต้องศึกษาและเข้าใจประเด็นปัญหาอย่างแท้จริง สามารถเรียบเรียงการดำเนินการเป็นขั้นตอน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ใช้ศัพทย์ยากจนเกินไป
  • ความสอดคล้อง คือ แบบเสนอหัวข้อจะต้องมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันตลอดทั้งโครงการ ตั้งแต่ชื่อหัวข้อ ความเป็นมาและความสำสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขตการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย แผนการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ งบประมาณที่ใช้ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  • ความครบถ้วน คือ แบบเสนอหัวข้องานวิจัยต้องมีหัวข้อย่อยภายในเอกสารครบถ้วนเหมาะสมกับหัวข้องานวิจัย
  • ความต่อเนื่อง คือ แบบเสนอหัวข้องานวิจัยต้องเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบระบียบ เรียบเรียงข้อความต่างๆ ให้เป็นเหตุเป็นผลมีลำดับที่ดี
  • ความคงที่ คือ การใช้คำ วลี คำศัพท์ ข้อความต้องเป็นแบบเดียวกันหรือมีความคงที่ คงเส้รคงวาตลอดทั้งฉบับ เช่น นักเรียน นักศึกษา นิสิต ปรากฏในรายงานฉบับเดียวกันซึ่งควรเลือกใช้เป็นคำเดียวไปเลย ไม่ควรใช้คำศัพท์ที่มีความหมายกำกวมหรือไม่ชัดเจน
  • ความเหมาะสม คือ การเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาต้องสมเหตุสมผล ขอบเขตการวิจัยเหมาะสมกับหัวข้อไม่กว้างหรือไม่แคบจนเกินไป วิธีดำเนินการวิจัยและระยะเวลา รวมไปถึงงบประมาณต้องมีความเหมาะสม
  • ความเป็นไปได้ คือ งานวิจัยต้องมีความเป็นไปได้ในทางเทคนิคหรือวิธีดำเนินการวิจัยโดยสามารถทำให้งานวิจัยสำเร็จได้ รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการใช้จ่ายงบประมาณ
  • ความมีจริยธรรมและจรรยาบรรณ คือ ข้อความหรือประโยคบางประโยคที่นำมาใช้ในเล่มรายงานวิจัยจำเป็นต้องอาศัยการอ้างอิงเอกสารแนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิจัยและวรรณที่เกี่ยวข้อง โดยระมัดระวังที่ต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

เทคนิคการเขียนแบบเสนอหัวข้อหรือโครงร่างงานวิจัย

  • ชื่อหัวข้องานวิจัยหรือโครงงาน มีความชัดเจน กระชับ ไม่เขียนยืดยาวเกินไป อ่านแล้วน่าสนใจ สามารถดำเนินการวิจัยได้จริง หากยังไม่มีไอเดียสามารถดูตัวอย่างหัวข้องานวิจัยได้
  • ชื่อวิชาหรือสาขาวิชาที่ทำการวิจัย
  • รายชื่อผู้ดำเนินงานวิจัย ชื่อ-นามสกุลของผู้ทำวิจัย ประวัติการศึกษา การทำาน บอกคร่าวๆ
  • ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา นำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้น ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาและผลกระทบกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมทั้งบอกแนวทางหรือเทคนิควิธีการแก้ปัญหา
  • วัตถุประสงค์ของการวิจัย กล่าวถึงเรื่องที่ต้องการศึกษา ต้องการคำตอบหรือข้อเท็จจริงจากการวิจัย เช่น เพื่อจำแนก เพื่อแก้ปัญหา เพื่ออธิบาย เพื่อส่งเสริม เพื่อพัฒนาระบบ เพื่อศึกษาแนวทาง
  • แนวคิดทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ให้เขียนเรียงลำดับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน อธิบายถึงทฤษฎีที่จะนำมาใช้ในงานวิจัย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่ควรเก่าเกิน 5 ปีนับจากปัจจุบัน
  • สมมุติฐานของการวิจัย (มีหรือไม่มีก็ได้) บอกแนวทางหรือทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามในการวิจัยเพื่อคาดคะเนผลที่จะได้จากการวิจัย
  • ขอบเขตการวิจัย กล่าวถึงเนื้อหาที่จะศึกษา ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ และระยะเวลา
  • นิยามศัพท์เฉพาะ (จะมีหรือไม่มีก็ได้) หากเป็นศัพท์ทั่วๆไปก็ไม่ควรมีหัวข้อนี้ก็ได้ ถ้ามีอย่าอ้างอิงในวิกิพีเดีย เพราะไม่น่าเชื่อถือ
  • วิธีดำเนินการวิจัย อธิบายแต่ละขั้นตอนอย่างคร่าวๆ ประกอบด้วย ประชากรกลุ่มตัวอย่างจะอ้างถึงหรือเฉพาะกลุ่ม วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
  • แผนการดำเนินงานวิจัย ระบุกิจกรรมที่จะต้องทำทั้งหมดในการวิจัย ต้องสอดคล้องกับระยะเวลา โดยทำเป็นตาราง
  • ระยะเวลาที่ทำการวิจัย ทำเป็นตารางเพื่อให้ดูง่าย กำหนดระยะเวลาให้เหมาะสมหากได้รับการสนับสนุนทุกวิจัยให้พิจารณาตามงบประมาณประกอบด้วย
  • สถานที่ทำการวิจัย (จะมีหรือไม่มีก็ได้) กรณีถ้ามีต้องบอกว่าทำให้บริษัท องค์กรไหน ใส่ข้อมูลในองค์กรแบบคร่าวๆ
  • วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ แยกเป็นฮาร์ดแวร์บอกสเป็คเครื่องขั้นต่ำ ใช้อะไรบ้างเช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ปริ้นเตอร์ ขาว-ดำ (ไม่ต้องบอกยี่ห้อ) และซอฟต์แวร์ ใช้โปรแกรมหรือไลบรารี่อะไรบ้างพร้อมทั้งบอกเวอร์ชั่นและใช้ทำอะไร
  • งบประมาณ จำแนกตามหมวกค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าจ้างชั่วคราว ค่าวัสดุและอุปกรณ์ (ฮาร์คแวร์และซอฟต์แวร์) เป็นต้น
  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ควรสอดคล้องกับวุตถุกระสงค์งานวิจัยไม่จำเป็นต้องมีจำนวนข้อที่เท่ากัน
  • เอกสารอ้างอิง แหล่งอ้างอิงข้อมูล มีความน่าเชื่อถือ รูปแบบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

สรุปการเขียนแบบเสนอหัวข้องานวิจัย วิทยานิพนธ์ โครงงานคอมพิวเตอร์ (Proposal)

        ก่อนที่จะได้ทำงานวิจัยนักศึกษาต้องทำแบบเสนอหัวข้องานวิจัย เพื่อแสดงให้เห็นถึงโครงร่างของงานวิจัยแบบคร่าวๆ โดยจะแสดงรายละเอียด ความสำคัญของปัญหาและแนวทางหรือวิธีการแก้ไข มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร นำเสนอกรอบแนวคิดการวิจัย มีวิธีดำเนินการวิจัยเป็นขั้นตอน สามารถประมาณการค่าใช้จ่าย ระยะเวลาในการดำเนินงาน ทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัยไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยปฏิบัติงานได้บนพื้นฐานความเป็นจริง อาจารย์หรือคณะกรรมการจะให้ความเห็นชอบในการอนุมัติให้ดำเนินการหรือนำข้อเสนอขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย

แจกฟรีเทมเพลตแบบเสนอหัวข้อหรือโครงร่างงานวิจัย (Free Research Proposal Template) คลิกเพื่อโหลด

        ถ้าชอบคอนเทนต์แบบนี้สามารถติดตามข่าวสารและบทความที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของ makewebproject เพื่ออัปเดทความเคลื่อนไหวของการเขียนโปรแกรมภาษา HTML หากท่านมีข้อเสนอแนะ หรือติดปัญหาส่วนไหนสามารถสอบถามผ่าน Facebook หรือ Line ได้เลยครับ

อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ บทความและเทคนิคการทำวิจัย

 

แชร์ข่าวนี้ให้เพื่อนคุณ:
กลับหน้าเทคนิคการทำโปรเจค

 

อย่าลืมกดติดตามอัปเดตข่าวสาร เทคนิคดีๆกันนะครับ Please follow us

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: