เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00 - 22.00 น.

เทคนิคการสืบค้นงานวิจัยให้เร็วและได้ข้อมูลตรงตามความต้องการ

เทคนิคการสืบค้นงานวิจัยให้เร็วและได้ข้อมูลตรงตามความต้องการ

 

        ในการทำงานวิจัยต้องมีการค้นคว้าหาข้อมูลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมาย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ ตั้งแต่เริ่มต้นทำงานวิจัยก็ต้องสืบค้นหาหัวข้องานวิจัย สืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในอดีตและในปัจจุบัน (การทบทวนวรรณกรรม) ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีเทคนิคการสืบค้นอย่างไร ให้ได้ข้อมูลตรงกับหัวข้องานวิจัยที่เราต้องการ รวมไปถึงมีข้อกำหนดอะไรบ้าง แอดมินได้แบ่งหัวข้อเอาไว้แล้วสามารถเลือกอ่านตามหัวข้อได้เลยครับ

ทำไมต้องสืบค้นงานวิจัย

        การสืบค้นงานวิจัย คือ การค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่กำลังจะทำหรือที่สนใจ โดยสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมายและมีเป็นจำนวนมาก ต้องใช้เวลาในการค้นหาและอ่าน วิเคราะห์ เรียบเรียงเอาไว้เพื่อนำไปใช้ในงานวิจัยต่อไป

เทคนิคการสืบค้นงานวิจัย

  1. เลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา กำหนดหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจให้ชัดเจน 
  2. เลือกแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมกับโจทย์
            เป็นแหล่งข้อมูลมีความทันสมัย / รู้จักแหล่งสืบค้นข้อมูล มีรายละเอียดดังนี้
    • สืบค้นจาก ตำรา หนังสือ เอกสาร ส่วนใหญ่ย้อนหลังไม่เกิน 10 ปี
    • งานวิจัย (สายวิทยาศาสตร์) ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี
    • งานวิจัย (สายสังคมศาสตร์) ย้อนหลังไม่เกิน 10 ปี
    • ฐานข้อมูลออนไลน์ E-Database หรือ E-Journal ที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น Web of Science, Scopus, Springer Link, ScienceDirect, Taylor & Francis, Wiley, MEDLINE, PubMed, IEEE
    • เอกสารที่เกี่ยวข้อง หรือเอกสารที่ใช้ในการอ้างอิง เช่น สื่อสิงพิมพ์ จดหมายข่าว หนังสือพิมพ์ ตำรา วารสาร
  3. วิเคราะห์ปัญหาหรือโจทย์
            วิเคราะห์ว่าใคร (เช่น ผู้บริโภค ลูกค้า นักศึกษา) อะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไม เมื่อไหร่ มีวิธีการอย่างไร เพื่ออะไร ผลคืออะไร
  4. คัดแยกคีย์เวิร์ด (Keyword) ออกจากโจทย์
            คีย์เวิร์ดควรเป็นคำนาม ไม่ใช้ภาษาพูด คำศัพท์เดียวกันแยกออกมาแล้วจะได้คำค้นหลัก ซึ่งไม่ควรเกิน 4 คีเวิร์ด (Keyword) ถ้ามีไม่ครบ 4 อาจใช้คำเหมือนหรือคำพ้องความหมาย เช่น
    • การจัดการความรู้ การจัดการองค์ความรู้ Knowledge Management
    • ข้าว ข้าวผัด ข้าวผัดหมู
    • ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย aging
  5. แปลคีย์เวิร์ด (Keyword) ให้เป็นภาษาที่ใช้ในการสืบค้น
            แปลจากคีย์เวิร์ด (Keyword) ภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยใช้ตัวช่วย คือ Google Translate, Lexitron จะให้รากศัพท์และคำเหมือน คำพ้องความหมาย (Synonym) เช่น สุนัข หมา (dog or canine) Google web จะให้คำเฉพาะ เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ค้นเจอแล้วครอบคลุมมากที่สุด
  6. ลงมือสืบค้นข้อมูล
    การสืบค้นจากฐานข้อมูลมีเทคนิคดังนี้
    • การใช้เครื่องหมาย Truncation & Wildcards จะช่วยในการสืบค้น เช่น teen* ผลลัพธ์ที่ได้จะรวมถึง teenage, teenager ทำให้มีงานวิจัยหรือบทความมามาแสดงผลมากขึ้น
    • การใช้ AND OR NOT โดยค้นจากกว้างไปหาแคบ เช่น drying AND (Solar OR Microwave) ****การใช้วงเว็บเป็นการจัดลำดับการสืบค้นในระบบฐานข้อมูลจะสืบค้นในวงเล็บก่อน
    การสืบค้นจากเสิร์ซเอ็นจิ้น (Search Engine) มีเทคนิคดังนี้
    • การค้นหาในเว็บไซต์ทั้งหมดใช้คำสั่ง Keyword site: URL เว็บไซต์ เช่น ต้องการค้นหาข้อมูล การสื่อสารสุขภาพจากเว็บไซต์การศึกษา ต้องใช้คำสั่ง การสื่อสารสุขภาพ site:.ac.th จะได้ผลการสืบค้นข้อมูลการสื่อสารสุขภาพจากเว็บไซต์สถาบันการศึกษา
    • การค้นหาไฟล์ ให้ใช้คำสั่ง filetype: นามสกุลไฟล์ เช่น ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมภาษา PHP ที่เป็นไฟล์นามสกุล pdf ต้องใช้คำสั่ง PHP filetype: pdf จะได้ผลการค้นหาข้อมูลตามประเภทไฟล์ที่เฉพาะเจาะจง
    • การค้นหาทีละหลายคีย์เวิร์ดในครั้งเดียวให้ใช้เครื่องหมาย Trancation (*) เช่น โรคอ้วน*อาหาร*คอเลสเตอรอล
    • การค้นหาเฉพาะคีย์เวิร์ด (Keyword) ที่ตรงให้ใช้เครื่องหมาย quotation Mark (“”) เช่น “ขนมจีน” จะแสดงผลลัพธ์ตามคีเวิร์ดที่ตรง ไม่มีการสลับคำหน้าหลัง
  7. จัดเก็บผลการสืบค้นข้อมูล
           ใช้เครื่องมือ Bookmark หรือโปรแกรม EndNote โดยต้องกรองข้อมูลเบื้องต้น เช่น ปีที่พิมพ์ สาขาวิชา หัวเรื่อง

สรุปการสืบค้นงานวิจัย

        ก่อนเริ่มทำวิจัยเราต้องสืบค้นข้อมูลในเรื่องที่สนใจเป็นอันดับแรก  เพื่อให้ทราบว่าในอดีตและปัจจุบันมีงานวิจัยไหนบ้างที่หัวข้อตรงกันหรือมีความใกล้เคียงกับเรื่องที่สนใจ หลังจากสืบค้นแล้วก็ต้องนั่งอ่านงานวิจัยเพื่อสรุปความแล้วทำการเรียบเรียงลำดับตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้ในการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่าหากเรารู้หลักเกณฑ์และเทคนิควิธีในการสืบค้นงานวิจัยแล้วจะช่วยให้เราสามารถลดระยเวลาในการสืบค้นข้อมูลได้ และได้ข้อมูลที่ตรงกับเรื่องที่สนใจ

        ถ้าชอบคอนเทนต์แบบนี้สามารถติดตามข่าวสารและ บทความที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของ makewebproject เพื่ออัปเดทความเคลื่อนไหวของการเขียนโปรแกรมภาษา HTML หากท่านมีข้อเสนอแนะ หรือติดปัญหาส่วนไหนสามารถสอบถามผ่าน Facebook หรือ Line ได้เลยครับ

อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ บทความและเทคนิคการทำวิจัย

 

แชร์ข่าวนี้ให้เพื่อนคุณ:
กลับหน้าเทคนิคการทำโปรเจค

 

อย่าลืมกดติดตามอัปเดตข่าวสาร เทคนิคดีๆกันนะครับ Please follow us

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: