เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00 - 22.00 น.

การทำรูปเล่มงานวิจัยบทที่ 2

การทำรูปเล่มงานวิจัยบทที่ 2

 

        สำหรับการทำรูปเล่มงานวิจัยในบทที่ 2 เป็นการนำเสนอข้อมูลที่นักศึกษาได้ทำการศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎี ความรู้ในเรื่องนั้นๆ จากหลากหลายวิธี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องานวิจัยที่กำลังจะทำ มีส่วนประกอบและเทคนิคการเขียนอย่างไรบ้างไปดูกันเลยครับ

รูปเล่มบทที่ 2 คืออะไร

        รูปเล่มบทที่ 2 คือ บทที่จะนำเสนอเกี่ยวกับพื้นฐานของแนวคิดและทฤษฎีที่จะนำมาใช้ในงานวิจัย รวมไปถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ส่วนดังนี้

  1. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เป็นการเขียนรายงานผลการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่จะนำมาใช้ในงานวิจัย โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำรา หนังสือเรียน จากห้องสมุด หรือบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นว่างานวิจัยเรื่องนี้มีแนวคิด ทฤษฎี หรืองานวิจัยอื่นๆ เป็นพื้นฐานการวางแผนการวิจัยอย่างไร การนำเสนอเนื้อหาในส่วนนี้ช่วยให้คณะกรรมการหรือที่ปรึกษางานวิจัยมีความมั่นใจว่า นักศึกษามีความรู้พื้นฐานที่เพียงพอสำหรับนำมาทำงานวิจัยนั้นให้สำเร็จได้
  2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษางานวิจัยในอดีตทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่กำลังจะดำเนินการ ทำให้ทราบว่ามีนักวิจัยท่านไหนเคยทำอะไรไปแล้วบ้าง โดยนักศึกษาต้องคัดสรรสิ่งที่จะเขียนให้ดีทั้งสิ่งที่ได้จากเอกสารหรือค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต โดยเขียนในลักษณะสังเคราะห์สิ่งที่ค้นคว้ามาไม่ใช่เป็นเพียงการนำสิ่งที่ค้นคว้ามาเขียนเรียงต่อๆ กันไปเรื่อยๆ 

        ก่อนลงมือเขียนจริงควรเริ่มวางโครงเรื่องให้มีความสอดคล้องตามลำดับก่อนหลัง มีความเหมาะสมกับปัญหาวิจัย โดยกำหนดโครงเรื่องเป็นหัวข้อต่างๆ ประกอบด้วยหัวข้อหลัก หัวข้อรอง และหัวข้อย่อย การนำเสนอรายละเอียดควรเริ่มต้นด้วยความนำหรืออารัมภบทว่าจะนำเสนออย่างไร แบ่งเป็นกี่ตอน และแต่ละตอนมีหัวข้อใดบ้าง

เทคนิคการเขียนบทที่ 2

  • การเขียนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจะต้องประกอบไปด้วย
    • ความหมายของสิ่งที่จะวิจัยหรือเรื่องที่จะวิจัย
    • แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับสิ่งที่จะวิจัย
    • ระเบียบวิธีหรือเทคนิควิธีการวิจัยพาะเรื่อง (ถ้ามี)
  • การเขียนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะต้องประกอบไปด้วยผลงานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ
  • การเขียนแบบตัดตอนเนื้อหาบางส่วน (คัดลอก) โดยใช้คำเชื่อม เช่น สอดคล้องกับแนวคิดของ...เขียนตัดตอนและนำมาต่อยอดใส่ไอเดียแนวคิดของตนเอง
  • การนำเสนอที่ดีเป็นการนำเสนอในลักษณะการสังเคราะห์เนื้อหา (ไม่คัดลอกเนื้อหาต้นฉบับหากมีความจำเป็นต้องคัดลอก ให้คัดลอกเฉพาะที่จำเป็น และทำการอ้างอิงให้ถูกต้อง) จากการถอดความและสรุปความ โดยนำความรู้จากผู้อื่นมาเรียบเรียงเป็นคำพูดของตนเองและสรุปความ ตามประเด็นการศึกษาที่เป็นวัตถุประสงค์หรือสมมติฐานการวิจัย ไม่ใช่เป็นการนำเสนอตามรายบุคคลตามลำดับตัวอักษรหรือตามรายปี
  • การเขียนแบบมืออาชีพในรุปแบบการพัฒนาและยกตัวอย่าง เช่น อ่านเปเปอร์ (งานวิจัย) 20 หน้า แล้วย่อให้เหลือ 1 หน้า พร้อมยกตัวอย่างเทียบเคียงจากแนวคิด เกิดจากการทบทวนวรรณกรรม อ่านงาน จดบันทึก คิด วิเคราะห์ พัฒนา เปิดการตกผลึก สามารถเขียนงานออกมาได้
  • เขียนสรุปตอนท้ายของแต่ละประเด็นที่นำเสนอ โดยนำเสนอถึงความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย โดยนำเอาแนวคิดมารวมกันเป็นไอเดียของตนเองแล้วนำมาเขียน
  • การเขียนแบบวิเคราะห์ใส่ตาราง ทำให้ดูน่าสนใจ น่าอ่าน โดยสรุปความในแต่ละแนวคิดแล้วเอามารวมกันใส่ตาราง เพื่อให้เห็นการเปรียบเทียบ ใส่ในส่วนของ นิยามศัพท์ ความสำคัญ ตัวแปร เทียบเคียงกันในแต่ละแนวคิด ทำให้เห็นภาพแต่ละแนวคิดอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล เขียนให้ถูกต้องตามที่คู่มือหรือมหาวิทยาลัยกำหนด และต้องมีความน่าเชื่อถือด้วย เมื่อนำไปค้นหาแล้วต้องเจอจริง

สรุปการทำเล่มงานวิจัยบทที่ 2

        การทำเล่มวิจัยบทที่ 2 มักเรียกว่า บทที่รวมบทวรรณกรรม มีบทบาทสำคัญในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นพื้นฐานเพื่อสร้างกรอบความรู้และแสดงว่างานวิจัยอยู่ในบริบทที่ถูกต้อง มีเนื้อหาเชื่อมโยงต่อเนื่องจากบทที่ 1 และเชื่อมโยงไปยังบทที่ 3 ต่อไป ซึ่งในบทที่ 2 นี้ในส่วนของแนวคิดและทฤษฎีจะใช้เวลาในการทำไม่นานเท่าไหร่ ส่วนใหญ่เวลาจะไปหนักที่การค้นคว้างานวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพราะต้องมาทำการสังเคราะห์และเขียนสรุปขึ้นมาเป็นภาษาของตนเอง แล้วจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย

        ถ้าชอบคอนเทนต์แบบนี้สามารถติดตามข่าวสารและบทความที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของ makewebproject เพื่ออัปเดทความเคลื่อนไหวของการเขียนโปรแกรมภาษา HTML หากท่านมีข้อเสนอแนะ หรือติดปัญหาส่วนไหนสามารถสอบถามผ่าน Facebook หรือ Line ได้เลยครับ

อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ บทความและเทคนิคการทำวิจัย

 

แชร์ข่าวนี้ให้เพื่อนคุณ:
กลับหน้าเทคนิคการทำโปรเจค

 

อย่าลืมกดติดตามอัปเดตข่าวสาร เทคนิคดีๆกันนะครับ Please follow us

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: