เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00 - 22.00 น.

การได้มาซึ่งปัญหางานวิจัย

การได้มาซึ่งปัญหางานวิจัย

 

        การค้นหาปัญหางานวิจัยเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการวิจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก ปัญหาที่เหมาะสมและน่าสนใจสามารถช่วยกำหนดแนวทางการวิจัยให้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและสามารถแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ โดยอาจได้มาจากผู้อื่น ซึ่งเป็นในลักษณะที่รวบรวมความคิดมาจากผู้อื่น แล้วนำมาสร้างเป็นหัวข้อปัญหา หรือเป็นหัวข้อที่ได้รับมาจากหน่วยงานองค์กร บริษัทเอกชนที่ต้องการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการทำงาน เพื่อนำมาเป็นเครื่องประกอบในการตัดสินใจ หรืออาจได้รับมอบหมายมาจากผู้บังคับบัญชา อาจารย์ผู้สอนเพื่อใช้ทำการวิจัย โดยการได้มาซึ่งปัญหาการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้

  • วิเคราะห์ภาวะปัจจุบัน ศึกษาประเด็นหรือปัญหาที่ควรแก้ไขในปัจจุบัน โดยสำรวจสถานการณ์ปัจจุบันและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหาทางสังคม ปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือปัญหาทางสิ่งแวดล้อม เป็นต้น วิเคราะห์ว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อสังคม อุตสาหกรรม หรือวงการที่เกี่ยวข้องอย่างไร แนะนำให้ลองไปค้นหาดูที่ google.com/trends โดยสามารถค้นหาข้อมูลที่กำลังเป็นประเด็นทางสังคมทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน
  • สำรวจวรรณกรรม ก่อนที่จะเริ่มต้นวิจัยใหม่ ควรศึกษางานวิจัยที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ  อ่านวารสารวิชาการ บทความวิจัย ค้นคว้างานวิจัยในฐานข้อมูลออนไลน์ การศึกษาวรรณกรรมช่วยให้เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตกับปัจจุบัน อาจได้ไอเดียสำหรับนำปัญหาดังกล่าวมาพัฒนาเพิ่มเติม
  • ความต้องการในสังคมและปัญหาในองค์กร ศึกษาความต้องการของผู้คนหรือองค์กรเหมาะสำหรับนักศึกษาที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย ทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาที่ต้องการการแก้ไข สอบถามเพื่อนร่วมงานทั้งแผนกเดียวกันและคนละแผนกหรือหัวหน้างาน
  • ศึกษาปัญหาในสิ่งที่สนใจ มองหาปัญหาที่มีความน่าสนใจ หรือมีความเชื่อมโยงกับสาขาวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ ส่วนนี้อาจเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เคยเรียนมาในชั้นเรียน เพื่อนำแนวคิดหรือทฤษฎีเหล่านั้นมาต่อยอดพัฒนาเพิ่มเติมในอีกแง่มุม
  • ปรึกษาอาจารย์ ขอคำแนะนำหรือปรึกษากับอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่สนใจ บางครั้งอาจค้นพบปัญหาที่อาจารย์กำลังสนใจอยู่ ก่อนจะเข้าไปขอคำแนะนำก็ควรเตรียมข้อมูลในเรื่องไปสนใจเข้าไปด้วย ไม่ใช่ไม่มีข้อมูลเลยจะทำให้การขอคำแนะนำเป็นเรื่องยากขึ้น
  • ปรึกษาคนรอบข้าง ปรึกษาคนในครอบครัวและญาติ หรือเพื่อนทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา โดยการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ เพื่อรับฟังแนวความคิด
  • ศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ควรศึกษาที่มาของเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยี การแก้ไขปัญหาทางเทคนิค หรือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการแก้ไขปัญหาในสาขาอื่น
  • สำรวจตลาดและธุรกิจ สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและตลาด ควรศึกษาแนวโน้มในตลาดและกฎหมายที่มีผลต่อธุรกิจ เพื่อพัฒนาแนวทางในการทำงานและนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่

        การค้นหาปัญหางานวิจัยเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความกระตือรือร้น ปัญหาที่จะนำมาทำงานวิจัยมีอยู่รอบๆ ตัวเรามากมาย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะพยายามหามันเจอไหม เมื่อเจอปัญหาที่สนใจแล้วยังต้องไปทำการทบทวนวรรณกรรม (Literature review) เพื่อดูว่ามีใครเคยนำไปทำการวิจัยแล้วหรือยังหรือว่าพอจะมีช่องทางในการพัฒนาเพิ่มเติมได้ไหม เพื่อให้งานวิจัยที่จัดทำนั้นประสบความสำเร็จ อาจขอคำแนะแนวทางจากครูสอนหรืออาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และแนวทางในการค้นหาปัญหาที่น่าสนใจมากขึ้นด้วยการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

        ถ้าชอบคอนเทนต์แบบนี้สามารถติดตามข่าวสารและบทความที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของ makewebproject เพื่ออัปเดทความเคลื่อนไหวของการเขียนโปรแกรมภาษา HTML หากท่านมีข้อเสนอแนะ หรือติดปัญหาส่วนไหนสามารถสอบถามผ่าน Facebook หรือ Line ได้เลยครับ

อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ บทความและเทคนิคการทำวิจัย

 

แชร์ข่าวนี้ให้เพื่อนคุณ:
กลับหน้าเทคนิคการทำโปรเจค

 

อย่าลืมกดติดตามอัปเดตข่าวสาร เทคนิคดีๆกันนะครับ Please follow us

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: