เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00 - 22.00 น.

3 ขั้นตอนสอบหัวข้อโปรเจคครั้งเดียวผ่าน

3 ขั้นตอนสอบหัวข้อโปรเจคครั้งเดียวผ่าน

 

        สวัสดีครับ ตอนนี้กำลังหาหัวข้อโปรเจคจบกันอยู่หล่ะสิ 555 ส่วนใครได้หัวข้อแล้วรีบปั่นแบบเสนอหัวข้อหรือเค้าโครงร่างงานวิจัย (Proposal) กันเลย อย่าลืมเข้าไปนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาด้วยนะ วันนี้แอดมินมีเทคนิคสำหรับการเตรียมตัวสอบหัวข้อโปรเจคมาฝากด้วยละ สรุปให้แบบเข้าใขง่าย อ่านจบแล้วทำได้ทันที สอบครั้งเดียวผ่านแน่นอน ไปดูกันเลย

ขั้นตอนที่ 1 ทำสไลด์นำเสนอ 

        จำนวนสไลด์ไม่ควรเกิน 15 หน้า เลือกโทนสีให้ดี สีพื้นหลังให้ตัดกับสีตัวอักษร เน้นสบายตา อ่านง่าย ไม่ควรใช้สีพื้นหลังกับสีตัวอักษรโทนเดียวกันเพราะจะทำให้ดูกลืนกันไปหมดทำให้อ่านยาก ไม่ใช้สีหลายสี ตักอักษรหรือฟอนต์ก็ไม่ควรใช้หลายฟอนต์ ปกติไม่ควรเกิน 2 ฟอนต์ด้วยซ้ำ ส่วนจะใช้โปรแกรม PowerPoint, Canva, Keynote ก็เอาที่ถนัดแต่หากใช้ PowerPoint อย่าลืมวิธีการ embed font ใน PowerPoint ด้วย เพื่อไม่ให้ฟอนต์เพี้ยนเวลาเอาไปเปิดเครื่องนำเสนอถ้าใช้เครื่องตนเองก็ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้ ส่วนหัวข้อในสไลด์ควรประกอบด้วย

1.1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา 

ไม่ควรคัดลอกข้อความมาทั้งหมด ให้สรุปใจความสำคัญแทน ทำเป็นหัวข้อบูลเล็ท (Bullet) ที่สำคัญๆ เฉพาะคีย์เวิร์ด ที่เหลือก็พูดนำเสนอเอา หรือทำเป็นกรอบแนวคิดที่นำเสนอภาพรวมของโปรเจค อาจมีกราฟหรือแผนผังการทำงานประกอบ ตัดคำฟุ่มเฟื่อย แต่ต้องมีคำเชื่อมประโยคให้ดูต่อเนื่องและไล่เรียงเป็นเรื่องราวตามลำดับ

1.2 วัตถุประสงค์

คัดลอกจากแบบเสนอหัวข้อหรือเค้าโครงร่างงานวิจัย (Proposal) 

1.3 ขอบเขตการดำเนินการ 

นำเสนอให้ครบทุกมิติ คัดลอกจากแบบเสนอหัวข้อหรือเค้าโครงร่างงานวิจัย (Proposal)

1.4 คำนิยามศัพท์ 

(ถ้ามี) ถ้าตัดออกได้ให้ตัดออก หรือหากจำเป็นต้องใส่ให้พิจารณาถึงความเหมาะสม เช่น อย่างคำศัพท์ที่เป็นคำทั่วๆ ไป ไม่จำเป็นต้องใส่ หากเป็นคำศัพท์ที่มีหลายความหมายต้องใส่เพื่อให้ คณะกรรมการเข้าใจว่าคำศัพท์ในโปรเจคนี้หมายถึงอะไร ถ้าใส่แล้วต้องใส่ให้ครบทุกคำ (คัดลอก)

1.5 แผนการดำเนินการ 

คัดลอกจากแบบเสนอหัวข้อหรือเค้าโครงร่างงานวิจัย (Proposal) เอามาทั้งตาราง

1.6 ประโยชน์ที่ได้รับ

คัดลอกจากแบบเสนอหัวข้อหรือเค้าโครงร่างงานวิจัย (Proposal)

ขั้นตอนที่ 2 ฝึกซ้อมนำเสนอ

        ทำสไลด์ให้เสร็จก่อน แล้วค่อยมาวิเคราะห์ลำดับการควรพูด ควรพูดอะไรก่อนหลัง ทำให้เหมือนการเล่าเรื่องหรือเล่านิทาน เช่น นำเสนอปัญหา (เน้นความสำคัญ) -> แนวทางการแก้ไข -> ขั้นตอนการดำเนินการ + ระยะเวลา -> ผลที่ได้ (มีประโยชน์ยังไง) เป็นต้น พยายามจดจำเนื้อหาในสไลด์ให้ได้โดยใช้เทคนิคการจำคีย์เวิร์ด (Keyword) ในการนำเสนอ แล้วให้ลองซ้อมพูดทีละสไลด์ จนจำได้หมด ให้ลองซ้อมนำเสนอกับเพื่อน ถ้าทำเป็นกลุ่มยิ่งดี โดยผลัดกันนำเสนอ ถ้าไม่มีเพื่อน ก็แฟนหรือคนในครอบครัว ลากมาให้หมด 555 นำเสนอเสร็จถามคนฟังด้วยว่าฟังรู้เรื่องไหม ถ้ารู้เรื่องก็เป็นอันจบการเตรียมตัวในการนำเสนอ

ขั้นตอนที่ 3 วันสอบจริง

        ตรวจเช็คความพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ พ้อยเตอร์ เอกสารนำเสนอส่งเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ให้คณะกรรมการแต่ละท่านหรือจะปริ้นก็แล้วแต่ น้ำ+ขนมเบรค (เตรียมให้คณะกรรมการ แล้วแต่สถานที่ ควรสอบถามกับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการสอบก่อนว่าต้องเตรียมไหม) ควรแต่งกายให้เรียบร้อย เช็คทุกอย่างให้พร้อมก่อนนำเสนอ ไม่ต้องตื่นเต้น (ถึงเวลาแมร่งตื่นเต้นทุกคน) พยายามทำให้เป็นธรรมชาติ เป็นเรื่องปกติ สุดท้ายแอดมินขอให้โชคดี นำเสนอทีเดียวผ่าน

        ถ้ายังไม่มั่นใจลองมาปรึกษาปัญหาการทำโปรเจคจบกับเราได้นะครับ ติดตรงไหนสอบถามได้ ยินดีให้บริการ ติดต่อสอบถามทางนี้จ้า คลิกสอบถามข้อมูล

อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ บทความและเทคนิคการทำวิจัย

 

แชร์ข่าวนี้ให้เพื่อนคุณ:
กลับหน้าเทคนิคการทำโปรเจค

 

อย่าลืมกดติดตามอัปเดตข่าวสาร เทคนิคดีๆกันนะครับ Please follow us

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: